แบบฝึกหัด
บทที่ 5
1. จงอธิบายความหมายของอินเทอร์เน็ต
ตอบ อินเตอร์เน็ต (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า “International network” หรือ “Inter Connection network” ซึ่งหมายถึง
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน
เพื่อให้เกิดการสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน
โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน
นั่นก็คือ TCP/IP Protocol ซึ่งเป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย
ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้
การที่มีระบบอินเตอร์เน็ต
ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้
โดยไม่จำกัดระยะทาง ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ
และ เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก
มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ
ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป
โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24
ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย
แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก
2.
จงอธิบายการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Direct Internet Access
ตอบ
การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง
ผู้ใช้จะต้องมีคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายหลักหรือแบ็กโบน (Backbone) โดยต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ (Gatewey)
ในการเชื่อมต่อ ซึ่งได้แก่ เราเตอร์ (Router)
โดยปกติแล้วการเชื่อมต่อในลักษณะนี้มักเป็นองค์การของรัฐ
สถาบันการศึกษาที่อนุญาตให้หน่วยงานอื่นใช้เครือข่ายร่วมกัน
3. รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีกี่ประเภท
อะไรบ้าง
ตอบ การจำแนกรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
จะจำแนกได้ตามลักษณะของกิจกรรมระหว่างบุคคลองค์กร จะจำแนกได้ 6 ประเภท ดังนี้
1.ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business) หรือ B to B
ธุรกิจกับธุรกิจเป็นการให้บริการกับลูกค้าที่เป็นองค์การทางธุรกิจเช่นเดียวกัน เช่น ผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ค้าส่ง ผู้ผลิตกับผู้นำเข้า ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก เป็นต้น
2.ธุรกิจกับลูกค้า (Business to Customer) หรือ B to C
ธุรกิจกับลูกค้าเป็นรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ดำเนินการซื้อขายสินค้าที่มุ่งเน้นการให้บริการระหว่างธุรกิจกับลูกค้าทั่วไป จึงสามารถซื้อสินค้าในระบบการขายส่งและการขายปลีกได้
3.ธุรกิจกับภาครัฐบาล (Business to Government )
ธุรกิจกับภาครัฐบาลเป็นการทำธุรกรรมทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์กรธุรกิจกับภาครัฐบาล ได้แก่ การประมูลออนไลน์ และการจัดซื้อจัดจ้าง และการจดทะเบียนการค้า และการนำสินค้าเข้าออนไลน์
4.ลูกค้ากับลูกค้า (Customer to Customer) หรือ C to c
ลูกค้ากับลูกค้าเป็นรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กระทำการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้บริโภคไปสู่ผู้บริโภค เป็นการกระทำผ่านทางเว็บไซต์โดยใช้วิธีการฝากสินค้าของตนเองไว้ในเว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางเหมือนกับฝากขายสินค้าไว้กับร้านค้าของคนอื่น
5.ภาครัฐบาลกับประชาชน (Government to Customer) หรือ G to C
ภาครัฐบาลกับประชาชนการดำเนินการในรูปแบบนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อการค้าระหว่างกลุ่มคนหรือองค์กร แต่เป็นการเปิดบริการของภาครัฐบาลให้แก่ประชาชน
1.ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business) หรือ B to B
ธุรกิจกับธุรกิจเป็นการให้บริการกับลูกค้าที่เป็นองค์การทางธุรกิจเช่นเดียวกัน เช่น ผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ค้าส่ง ผู้ผลิตกับผู้นำเข้า ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก เป็นต้น
2.ธุรกิจกับลูกค้า (Business to Customer) หรือ B to C
ธุรกิจกับลูกค้าเป็นรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ดำเนินการซื้อขายสินค้าที่มุ่งเน้นการให้บริการระหว่างธุรกิจกับลูกค้าทั่วไป จึงสามารถซื้อสินค้าในระบบการขายส่งและการขายปลีกได้
3.ธุรกิจกับภาครัฐบาล (Business to Government )
ธุรกิจกับภาครัฐบาลเป็นการทำธุรกรรมทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์กรธุรกิจกับภาครัฐบาล ได้แก่ การประมูลออนไลน์ และการจัดซื้อจัดจ้าง และการจดทะเบียนการค้า และการนำสินค้าเข้าออนไลน์
4.ลูกค้ากับลูกค้า (Customer to Customer) หรือ C to c
ลูกค้ากับลูกค้าเป็นรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กระทำการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้บริโภคไปสู่ผู้บริโภค เป็นการกระทำผ่านทางเว็บไซต์โดยใช้วิธีการฝากสินค้าของตนเองไว้ในเว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางเหมือนกับฝากขายสินค้าไว้กับร้านค้าของคนอื่น
5.ภาครัฐบาลกับประชาชน (Government to Customer) หรือ G to C
ภาครัฐบาลกับประชาชนการดำเนินการในรูปแบบนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อการค้าระหว่างกลุ่มคนหรือองค์กร แต่เป็นการเปิดบริการของภาครัฐบาลให้แก่ประชาชน
4.
จงอธิบายขั้นตอนกระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 1. การค้นหาข้อมูล
ขั้นตอนแรกของการซื้อสินค้าเป็นการค้นหาข้อมูลสินค้าที่ต้องการ แล้วนำข้อมูลแต่ละร้านมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน โดยใช้เว็บไซต์ที่นิยม หรือ Search Engines เช่น http://www.google.com เป็นต้น
2. การสั่งซื้อสินค้า
เมื่อลูกค้าเลือกสินค้าที่ต้องการแล้ว จะนำรายการที่ต้องการเข้าสู่ระบบตะกร้า และจะมีการคำนวณ ค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนรายการและปริมาณที่สั่งได้
3. การชำระเงิน
เมื่อลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าที่ต้องการ ในขั้นถัดมาจะเป็นการกำหนดวิธีการชำระเงิน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของลูกค้าว่าจะเลือกวิธีไหน
ขั้นตอนแรกของการซื้อสินค้าเป็นการค้นหาข้อมูลสินค้าที่ต้องการ แล้วนำข้อมูลแต่ละร้านมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน โดยใช้เว็บไซต์ที่นิยม หรือ Search Engines เช่น http://www.google.com เป็นต้น
2. การสั่งซื้อสินค้า
เมื่อลูกค้าเลือกสินค้าที่ต้องการแล้ว จะนำรายการที่ต้องการเข้าสู่ระบบตะกร้า และจะมีการคำนวณ ค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนรายการและปริมาณที่สั่งได้
3. การชำระเงิน
เมื่อลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าที่ต้องการ ในขั้นถัดมาจะเป็นการกำหนดวิธีการชำระเงิน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของลูกค้าว่าจะเลือกวิธีไหน
4. การส่งมอบสินค้า
เมื่อลูกค้ากำหนดวิธีการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว จะเข้าสู่วิธีเลือกส่งสินค้า ซึ่งการส่งมอบสินค้าอาจจัดส่งให้ลูกค้าโดยตรง การใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้า หรือส่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การดาวน์โหลดเพลง เป็นต้น
5. กาให้บริการหลังการขาย
หลังจากเสร็จสิ้นการสั่งสินซื้อแต่ละครั้ง ร้านค้าต้องมีบริการหลังการขายให้กับลูกค้า ซึ่งอาจจะเป็นติดต่อกับลูกค้าผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น อีเมล์ และเว็บบอร์ด
เมื่อลูกค้ากำหนดวิธีการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว จะเข้าสู่วิธีเลือกส่งสินค้า ซึ่งการส่งมอบสินค้าอาจจัดส่งให้ลูกค้าโดยตรง การใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้า หรือส่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การดาวน์โหลดเพลง เป็นต้น
5. กาให้บริการหลังการขาย
หลังจากเสร็จสิ้นการสั่งสินซื้อแต่ละครั้ง ร้านค้าต้องมีบริการหลังการขายให้กับลูกค้า ซึ่งอาจจะเป็นติดต่อกับลูกค้าผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น อีเมล์ และเว็บบอร์ด
5. จงหาเว็บไซต์ขายของออนไลน์ มา 5 เว็บไซต์
ตอบ
1. salesmatchup.com

2. www.kaidee.com

3. www.lazada.co.th

4. shopee.co.th

5. Facebook
Marketplace
