วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 2 การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์


บทที่ การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์

            ขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย
1. รับข้อมูล (Input) คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่รับข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล อุปกรณ์รับข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ สแกนเนอร์ ไมโครโฟน เป็นต้น
2. ประมวลผล (Process) คอมพิวเตอร์รับข้อมูลเข้าสู่ระบบ จะทำการประมวลผลตามโปรแกรมที่กำหนด
3. แสดงผล (Output)  คอมพิวเตอร์แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผล ได้แก่ จอภาพ ลำโพง เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
4. จัดเก็บข้อมูล (Storage) จัดเก็บข้อมูลในอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดีรอม Flash Drive เป็นต้น

ประเภทของคอมพิวเตอร์
จำแนกคอมพิวเตอร์ เป็น 7 ประเภท

1.   ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เก็บเป็นห้อง มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด มีราคาสูงมาก การประมวลผลทำได้พันล้านคำสั่งต่อวินาที ปัจจุบันใช้กับงานออกแบบชิ้นส่วนรถยนต์ งานวิเคราะห์สินค้าคงคลัง หน่วยงานที่ใช้ ได้แก่ องค์การนาซา AT&T เป็นต้น

2. คอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe Computer) เก็บเป็นตู้แหลก มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ รองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่

3. มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Minicomputer) ประสิทธิภาพในการทำงานในด้านความเร็ว และจัดเก็บข้อมูลน้อยกว่าเมนเฟรม แต่สูงกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ รองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายคน  ใช้กับธุรกิจขนาดกลาง เช่น การทำงานด้านบัญชีขององค์การ


4.  คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มีขนาดเล็กสำหรับโต๊ะทำงาน สถานศึกษา บ้าน ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์มีแบบวางนอน และแนวตั้ง เรียกว่า ทาวเวอร์ ประเภทคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะจำแนกได้ดังนี้
- All in one Computer คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะรวมจอภาพและหน่วยประมวลผลอยู่  ในอุปกรณ์เดียวกัน
- Workstation คอมพิวเตอร์ราคาสูง ใช้งานด้านคำนวณและกราฟิก
- Stand alone Computer คอมพิวเตอร์ระบบเดี่ยว ทำงานเรียกว่า IPOS cycle ไม่ได้เชื่อมต่อ รับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- Server Computer ให้บริการต่าง ๆ



5.  คอมพิวเตอร์โน้ตบุค (แล็ปท๊อปคอมพิวเตอร์) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีขนาดเล็ก บาง น้ำหนักเบา พกพาไปใช้ในสถานที่ต่างๆ ใช้กับไฟฟ้ามาตรฐานทั่วไป และแบตเตอรี่ ปัจจุบันมีคอมพิวเตอร์พกพาอีกชนิด คือ Tablet PC คอมพิวเตอร์น้ำหนักเบา หมุนได้ 180 องศา มีแป้นพิมพ์แยกต่างหาก รับข้อมูลโดยใช้ปากกาพิเศษ (Stylus) แบบสัมผัส บนจอได้



6. Hand held Personal Computer หรือ Palmtop Computer คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กที่สุด เรียกว่า พีดีเอ (PDA) ย่อมาจาก Personal Digital Assistant ใช้ปากกา สไตลัส เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูล พีดีเอที่นิยมใช้ปัจจุบัน เช่น Pocket PC และ Palm

7. คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer) คอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่างๆ  ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์
การทำงานของระบบของคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบหลัก 6 ส่วน คือ

1. อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices)
แป้นพิมพ์ อุปกรณ์กดเพื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์มาตรฐานมีแป้นกด 101 แป้นคอมพิวเตอร์โน้ตบุค มี 105 แป้น
เมาส์  อุปกรณ์ควบคุมการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ มี 1-5 ปุ่ม มี 2 แบบ คือ แบบทางกล ใช้ลูกกลิ้งกลมมีน้ำหนักแรงเสียดทานพอดี และ แบบใช้แสงอินฟราเรด Optical Mouse



2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม (Control Unit) ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกส่วน และหน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic/Logic Unit : ALU) คำนวณทางคณิตศาสตร์ และเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์

3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เป็นชิปหรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้บันทึกโปรแกรม ข้อมูล บรรจุอยู่บนแผงวงจรหลักเรียกว่า เมนบอร์ด (Mainboard) หน่วยความจำมี 3 ประเภท คือ 
- หน่วยความจำแรม Random Access Memory : RAM อุปกรณ์แผงวงจรเก็บข้อมูลชั่วคราวใช้งานได้ตอนเปิดเครื่อง ข้อมูลจะหายเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ มี 2 ประเภท คือ Static RAM และ Dynamic RAM
- หน่วยความจำรอม Read Only Memory หน่วยความจำบันทึกข้อสารสนเทศและคำสั่งเริ่มต้น ข้อมูลและคำส่งจะไม่ถูกลบหายเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถลบหรือแก้ไขได้ สามารถอ่านได้ เรียกว่า PROM (Programmable Read Only Memory)
- หน่วยความจำซีมอส Complementary Metal Oxide Semiconductor : CMOSหน่วยความจำที่เก็บข้อสารสนเทศที่ใช้ประจำของระบบคอมพิวเตอร์





                4. อุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) 
- เครื่องพิมพ์ จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
เครื่องพิมพ์แบบกระทบ ใช้หัวเข็มกระทบให้ผ้าหมึกพิมพ์ ได้แก่ เครื่องพิมพ์แบบจุด
เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ ใช้หมึกฉีดพ่นไปบนกระดาษ ได้แก่ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เครื่องพิมพ์ฉีกหมึก
- จอภาพ  เรียกว่า มอนิเตอร์ คล้ายจอโทรทัศน์ มีขนาด 14 , 15 และ 17 นิ้ว และจอภาพชนิดแบน หรือจอภาพแอลซีดี

5.   อุปกรณ์การสื่อสาร (Communnication)  

6. อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Devices)  จัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลเพื่อใช้ในการประมวลผล จัดเก็บได้ถึงไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงก็ตาม อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง ได้แก่ แผ่นดิสเก็ตต์ ฮาร์ดดิสก์ แผ่นคอมแพคดิสก์ แผ่นดีวีดี
การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
                การจัดการกับทรัพยากรไอดีด้านฮาร์ดแวร์ มีประเด็นในการพิจารณา ดังนี้
1.การกำหนดแนวทางจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและการแข่งขันธุรกิจในปัจจุบัน
2. การวางแผนระยะยาวในเรื่องของความสามารถและประสิทธิภาพในอนาคตของฮาร์ดแวร์
3. การกำหนดมาตรฐานในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรฮาร์ดแวร์
4. มีงบประมาณดูแลปรับปรุงในระยะยาว
5. ระบุความเสี่ยง จัดหาแนวทางป้องกัน
6. การจัดทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

เทคโนโลยีซอฟต์แวร์
                ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) และ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) ผู้ใช้จะติดต่อกับซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์
                1. ซอฟต์แวร์ระบบ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ ระบบปฏิบัติการ (Operating System: OS) และโปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utillity Programs)
                                - ระบบปฏิบัติการ เป็นชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างโปรแกรมประยุกต์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และผู้ใช้ทำงานกับโปรแกรมประยุกต์ ระบบปฏิบัติการปัจจุบัน ได้แก่ ระบบปฏิบัติการดอส (Disk Operating System : DOS) ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (LINUX) ระบบปฏิบัติการยูนิกส์ (UNIX) และระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows 98 , Windows ME , Windows XP)  ระบบปฏิบัติการจะถูกเรียกใช้จากฮาร์ดดิสก์ไปไว้ที่หน่วยความจำหลัก และใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์โปรแกรมอื่น ๆ
                                - โปรแกรมอรรถประโยชน์ เป็นซอฟต์แวร์ระบบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ โปรแกรมและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัย และเสถียรภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมอรรถประโยชน์ เช่น โปรแกรมสำรองข้อมูลที่สำคัญในฮาร์ดดิสก์ โปรแกรมตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ โปรแกรมตรวจไวรัส โปรแกรมบีบอัดข้อมูล เช่น WinZip เป็นต้น โปรแกรมเหล่านี้ จะให้มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่พัฒนาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านต่าง ๆ  ตามความต้องการของผู้ใช้  การพัฒนาโปรแกรมเพื่อความต้องการขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง เรียกว่า โปรแกรมเฉพาะงาน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จึงมีการพัฒนาโปรแกรมสำหรับงานทั่ว ๆ ไป เรียกว่า โปรแกรมสำเร็จรูป  ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานทั่วไป แบ่งตามประเภทของงานได้ ดังนี้
- โปรแกรมประมวลผล สำหรับสร้าง แก้ไข จัดรูปแบบ จัดพิมพ์เอกสารให้ออกมาในรูปแบบรายงาน จดหมาย สิ่งพิมพ์ โปรแกรมประมวลผลคำในปัจจุบัน ได้แก่ Microsoft Word , WordPerfect , Lotus , Word Pro เป็นต้น
- โปรแกรมด้านการคำนวณ มีลักษณะเป็นกระดาษทำการ (Worksheet) ประกอบด้วยช่องตาราง เรียกว่า เซลล์ เรียงตามแถว และคอลัมน์ พิมพ์ข้อมูล อักษร ตัวเลข สูตรการคำนวณค่าต่าง ๆ ได้แก่ โปรแกรม Microsoft Excel , Lotus 1-2-3 และ Quattro Pro เป็นต้น
- โปรแกรมการนำเสนอข้อมูล เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สร้างเอกสารในรูปแบบแผ่นสไลด์ เหมาะกับงานนำเสนอหลายรูปแบบ การนำเสนอด้วยภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว การนำเสนอผังองค์การ กราฟสถิติต่าง ๆ โปรแกรมที่นำเสนอ ได้แก่ Microsoft PowerPoint , Freeland Graphics
- โปรแกรมการจัดการด้านฐานข้อมูล เป็นโปรแกรมสร้างฐานข้อมูลนำไปจัดเก็บ จัดการข้อมูลได้  เพิ่ม ลบ การค้นหาข้อมูลตามเงื่อนไข ซึ่งทำได้อย่างรวดเร็ว โปรแกรมการจัดการด้านฐานข้อมูลสามารถประยุกต์เป็นโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลอื่น ๆ ได้ โปรแกรมที่นิยมใช้ปัจจุบัน ได้แก่ Microsoft Access , Microsoft SQL Server เป็นต้น
- โปรแกรมด้านงานพิมพ์ เป็นโปรแกรมสำหรับช่วยผลิตงานสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ หลายรูปแบบ เช่น แผ่นพับ ใบปลิว บัตรเชิญ นามบัตร เป็นต้น โปรแกรมที่นิยมใช้ ได้แก่ Microsoft Publisher , Adobe PageMaker
- โปรแกรมกราฟิก เป็นโปรแกรมที่ช่วยสร้างและออกแบบกราฟิกต่าง ๆ  ช่วยเปลี่ยนภาพวาดธรรมดาให้เป็นภาพที่สวยงามด้วยเครื่องมือช่วย เทคนิควิธีทางศิลปะจะทำให้งานกราฟิกมีคุณภาพ โปรแกรมกราฟิกที่นิยมใช้ ได้แก่ Adobe Photoshop , Microsoft Paint , CorelDraw เป็นต้น 
การบริหารทรัพยากรซอฟต์แวร์
ควรคำนึงถึงปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
                1. การจัดหาทรัพยากรซอฟต์แวร์ ขึ้นอยู่กับลักษณะขององค์การ การดำเนินงานในส่วนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด ต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบและพิจารณาในระยะยาว
                2. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์สำหรับองค์การ ควรพิจารณา ดังต่อไปนี้
                                - ความเป็นมาตรฐาน ซอฟต์แวร์ที่จัดหาควรสอดคล้อง และง่ายต่อการเรียนรู้
                                ความเหมาะสมและคุณสมบัติของซอฟต์แวร์นั้นๆ พิจารณาลักษณะงาน และคุณสมบัติเฉพาะของซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้ด้วย ความเข้ากันได้ ควรเลือกซอฟต์แวร์ที่เข้ากันได้กับระบบปฏิบัติการ และฮาร์ดแวร์ที่ได้งานอยู่แล้ว

ที่มา : https://pimpanp.wordpress.com/2008/04/26

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฝึกหัดบทที่ 10 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้

แบบฝึกหัดบทที่ 10 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้ 1. สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเนื้อหา 1 หน้ากระดาษรายงานเพื่อเตรียมสอบ ตอบ เทคโนโลยีสารสนเ...